วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 6 เรื่อง ซอฟต์แวร์

คำชี้แจง : จงเขียนคำตอบลงในบล็อก (blog) ของตนเอง


คำสั่ง :  ให้นักเรียนเขียนชื่อซอฟต์แวร์ระบบ


 
ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าควบคุมการปฏิบัติงานของส่วนประกอบต่าง ๆ
 ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลอดเวลาควบคุม การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ระบบปฏิบัติการ (operating system หรือ OS)
เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
 (Disk Operating System หรือ DOS) , Windows 98 , UNIX เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้

        1.1 ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ด้แก่- ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System หรือ MS - DOS)
เอ็มเอสดอส เป็นระบบการปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ดูแลการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
        1.2 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (network operating system หรือ NOS)
เป็นระบบปฎิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารของคอมพิวเตอร์
ให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

        1.3 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (open operating system)
เป็นระบบที่พัฒนาจากแนวคิดที่ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
ได้ซึ่งแต่เดิมการใช้ระบบปฎิบัติการไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทนั้น ๆ

        2. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator)การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
 ผู้เขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์นั้น จะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับ
ลักษณะงานและความถนัดของผู้เขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนขึ้นหรือที่เรียกว่า
โปรแกรมต้นฉบับ จึงมีลักษณะโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างกันออกไป
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ใก้ลเคียง
กับภาษามนุษย์ที่เรียกว่า ภาษาระดับสูง เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลที่เป็นสัญญาณ
ไฟฟ้าซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง (0 หรือ 1) หรือที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง
        2.1 คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์แทรกให้เป็นภาษาเครื่อง
 การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมเรียกใช้งาน
ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์
เมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็สามารถเรียกจากไฟล์เรียกใช้งาน
 โดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
        2.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter)
เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่ง
ตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว
        2.3 แอสเซมบลีลี (assembler)
เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี (assembly) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

2.จงจับคู่คำกับข้อความที่ถูกต้อง
เติมตัวอักษร
คำศัพท์
โจทย์ความหมาย
Windows NT
เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการนำเข้าและการส่งออก หรือการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
disk cleanup, defrag
ประกอบด้วยโปรแกรม 4 ชนิด คือระบบปฏิบัติการ ยูทิลิตี้ ไดรเวอร์ ตัวแปลภาษา
NOD32, Norton Antivirus
ซอฟต์แวร์ระบบที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แต่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ซอฟต์แวร์ระบบ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือ
โปรแกรมบีบอัดไฟล์
ซอฟต์แวร์ระบบประเภทยูทิลิตี้โปรแกรม
Linux
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ติดตั้งบนเครื่องแม่ข่ายเพื่อให้บริการทรัพยากร
Windows 7
ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานเฉพาะด้าน
ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว
โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูล
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ใช้กับงานทั่วไป
ยูทิลิตี้
โปรแกรมสำหรับการให้บริการWeb, Mail, FTP Server
โปรแกรมงานทะเบียน
ซอฟต์แวร์ระบบที่ใช้ได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
โปรแกรม Backup
โปรแกรมสำหรับกำจัด ตรวจสอบไวรัส
,
Word, Excel, PowerPoint
โปรแกรมสำหรับการลดขนาดของไฟล์ในการจัดเก็บ
เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ให้บริการกับเครื่องลูกข่าย

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ซูชิ

                ซูชิ  เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชูและกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ดเนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิ บนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น

ไอศครีม

           ไอศกรีม (อังกฤษ: ice cream) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด (freezing) เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม (freezer) ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ช็อกโกแลต

          ช็อกโกเลต (Chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก

          ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกันกลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นถูกค้นพบโดยชาวอินเดียแดง และ ชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้"